การประเมินโครงการศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษา วิทยาลัยสารพัดช่างระยอง ปีการศึกษา 2564

Link เว็ปต้นฉบับ : https://chaipanyashare.blogspot.com/2022/08/2564.html

ชื่อเรื่อง     การประเมินโครงการศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษา วิทยาลัยสารพัดช่างระยอง  ปีการศึกษา 2564

ผู้ประเมิน     นายไชย์ปัญญา   ทองอินทร์  รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนงานและความร่วมมือ  วิทยาลัยเทคนิคนิคมอุตสาหกรรมระยอง

ปีที่พิมพ์     2565

บทคัดย่อ

        การประเมินโครงการในครั้งนี้ ประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อประเมินโครงการศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษา ของวิทยาลัยสารพัดช่างระยอง ในปีการศึกษา 2564 2) เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนา กระบวนการดำเนินงานศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษา ของวิทยาลัยสารพัดช่างระยอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ 1) ผู้บริหาร ครู และบุคลากรสนับสนุนการสอน ปีการศึกษา 2564 จำนวน 59 คน 2) นักเรียน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และนักศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ปีการศึกษา 2564 จำนวน 248 คน รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดจำนวน 307 คน (ได้จากการเปิดตารางเทียบของเครจซี่และมอร์แกน, Krejcie & Morgan) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามในรูปแบบOnline แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

        ผลการศึกษาพบว่า

    1.  ผลการประเมินโครงการ

                    โครงการศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษา ของวิทยาลัยสารพัดช่างระยองปีการศึกษา 2564 ในภาพรวม พบว่า ทุกด้านมีการดำเนินงาน/การปฏิบัติ ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยผลการประเมินจากมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด ดังนี้ ด้านผลผลิตของโครงการ รองลงมาคือ ด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้าและด้านกระบวนการดำเนินงาน ตามลำดับ และเมื่อจำแนกตามรายด้าน สรุปได้ ดังนี้

       1.1  ด้านสภาพแวดล้อม สรุปผลโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 ลำดับแรกอยู่ในระดับมาก คือ ลำดับที่ 1 บุคลากรมีความรู้ ความเข้าใจ และมีทัศนคติที่ดีต่อโครงการศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษา ลำดับที่ 2 โครงการศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษา มีประโยชน์ต่อการพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา และลำดับที่ 3 มีการกำหนดนโยบาย และแนวทางการดำเนินโครงการศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษา ไว้อย่างชัดเจน ตามลำดับ
                    1.2  ด้านปัจจัยนำเข้า สรุปผลโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 ลำดับแรกอยู่ในระดับมากที่สุด 1 ข้อและระดับมาก 2 ข้อ คือ ลำดับที่ 1 ฝ่ายบริหารให้การสนับสนุน การดำเนินการศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษา ลำดับที่ 2 ศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษา มีสำนักงาน อาคารที่เป็นสัดส่วน มีคุณภาพและได้มาตรฐาน และลำดับที่ 3 มีการจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ อย่างเหมาะสมและเพียงพอต่อการดำเนินการศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษา ตามลำดับ
                    1.3  ด้านกระบวนการดำเนินงาน สรุปผลโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 ลำดับแรกอยู่ในระดับมาก คือ ลำดับที่ 1 ได้รับงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษา อย่างเหมาะสม ลำดับที่ 2 มีการกำหนดวิธีการประเมิน การดำเนินงานศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษา อย่างเหมาะสมและชัดเจน และลำดับที่ 3 การแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษา มีความเหมาะสม ตามลำดับ
                    1.4  ด้านผลผลิตโครงการ สรุปผลโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และมีข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 ลำดับแรกอยู่ในระดับมากที่สุด 2 ข้อและระดับมาก 1 ข้อ คือ ลำดับที่ 1 สถานศึกษามีการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ ผลการดำเนินงานศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษา แก่ชุมชนและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ลำดับที่ 2 สถานศึกษามีการพัฒนาศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษา เพื่อพร้อมรับการประเมินจากคณะกรรมการประเมินอย่างต่อเนื่อง และลำดับที่ 3 สถานศึกษาสามารถพัฒนา ศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษาให้มีคุณภาพ ตรงตามมาตรฐาน ตามลำดับ

            2.  ผลการประเมินข้อเสนอแนะ

                        2.1  ควรนำผลการประเมินโครงการที่ได้ เป็นข้อมูลพื้นฐานไปใช้ในการตัดสินใจ ปรับปรุง แก้ไขใน ด้านต่าง ๆ ที่ได้ค้นพบ โดยส่งเสริมกิจกรรมที่สถานศึกษาสามารถทำได้ดีให้ดียิ่งขึ้นไป และปรับปรุง กิจกรรมที่พบว่ามีผลการประเมินในระดับต่ำ ไปปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น
                    2.2  สถานศึกษาควรนำกิจกรรมใหม่ ๆ ที่ประสบความสำเร็จมาจัดกิจกรรมในการพัฒนา ทางด้านการสร้างธุรกิจ
                    2.3  ควรส่งเสริมการอบรมให้ความรู้ ด้านธุรกิจให้แก่ครู และบุคลากรทางการศึกษา เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ความรับรู้เชิงบวก และเพื่อให้ประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักเรียน นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ
                    2.4  ควรขยายโครงการให้ ครอบคลุมกับจำนวนนักเรียน นักศึกษาทุกคนในสถานศึกษาโดยปรับกิจกรรมให้ เหมาะสมกับวัยของนักเรียน นักศึกษา เพื่อให้เกิดการสร้างธุรกิจใหม่ (Start Up) และนำไปใช้ประกอบอาชีพที่ยั่งยืน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *